คำอธิบายรายวิชา

รายวิชา ส 23101 สังคมศึกษา 5

ศึกษาวิเคราะห์พุทธประวัติและความสำคัญของพระพุทธศาสนา ชาดก พุทธสาวก พุทธสาวิกา ชาวพุทธตัวอย่าง หลักธรรมพุทธศาสนา สุภาษิต พระไตรปิฎก คำศัพท์ทางพระพุทธศาสนา การแก้ปัญหาและ การพัฒนาสังคมโดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาอย่างยั่งยืนโดยใช้วิธีคิดแยกแยะระหว่าง ผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ส่วนรวม

เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ มีศรัทธาในพระรัตนตรัย ประพฤติตนเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดีมีคุณธรรม จริยธรรมในการอยู่ร่วมกันในสังคมสามารถนำหลักธรรมไปใช้เป็นแนวทางในการแสวงหาความรู้ไม่ประมาท มีเมตตา กรุณา ต่อเพื่อนมนุษย์ที่ STRONG ใช้จิตพอเพียงต่อการทุจริตที่เกิดขึ้นในการดำเนินชีวิต

ศึกษาลักษณะการกระทำความผิดและโทษทางอาญา ทางแพ่ง ความหมายความสำคัญการได้รับความคุ้มครองตามหลักสิทธิมนุษยชน ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งในสังคม ปัญหาและอุปสรรคของการพัฒนา ระบอบประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยวิเคราะห์เปรียบเทียบระบอบการปกครองของไทย กับประเทศอื่น และการรวมกลุ่มประเทศอาเซียน การเลือกตั้ง การตรวจสอบอำนาจรัฐ บทบาทหน้าที่ในการบริหาร ประเทศของรัฐบาล ความร่วมมือในการลดความขัดแย้งและการสร้างความสมานฉันท์ อนุรักษ์วัฒนธรรม และภูมิปัญญาของชาติ ดำรงชีวิตอย่างมีขันติธรรม ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้กระบวนการ ประชาธิปไตย คิดวิเคราะห์ คิดเชิงระบบ ยอมรับความแตกต่าง เคารพในหลักสิทธิหน้าที่ เสรีภาพทั้งของตนเอง และผู้อื่น เกิดความละอายและความไม่ทนต่อการทุจริต

ตระหนักและเห็นคุณค่าของการปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดี เคารพกฎหมาย รักชาติ ศาสน์กษัตริย์สามารถ นำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน มีวัฒนธรรมประชาธิปไตย ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น พร้อมที่จะ ปรับปรุงตนเอง มองโลกในแง่ดี สามารถตัดสินบริโภค ข่าวสารอย่างมีวิจารณญาณเป็นพลเมืองที่มีความ รับผิดชอบต่อสังคม

โดยใช้กระบวนการคิด การบวนการสืบค้นข้อมูล กระบวนการปฏิบัติ กระบวนการทางสังคม กระบวนการกลุ่ม กระบวนการเผชิญสถานการณ์และแก้ปัญหาเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ สามารถนำไปปฏิบัติ ตนในการดำเนินชีวิตรู้เท่าทันเหตุการณ์และการเปลี่ยนแปลงทางสังคม มีวิจารณญาณในการบริโภคข่าวสาร ปฏิบัติตนตามกฎหมาย และเห็นคุณค่าของการนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาไปประพฤติปฏิบัติในการแก้ไข ปัญหา มีภาวะผู้นำ มีความสามารถในการตัดสินใจ เกิดทักษะการใช้ชีวิตอย่างมีความสุข และเป็นแบบอย่างของพุทธศาสนิกชน ที่ดีมีคุณธรรม จริยธรรม มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ นำไปพัฒนาและแก้ปัญหาของชุมชนและ สังคม สามารถดำเนินชีวิตอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุขในสังคมไทยและสังคมโลก

ตัวชี้วัด ส 1.1 ม.3/1, ม.3/2, ม.3/3, ม.3/4, ม.3/5, ม.3/6, ม.3/7, ม.3/8, ม.3/9, ม.3/10

ส 1.2 ม.3/1, ม.3/2, ม.3/3, ม.3/4, ม.3/5, ม.3/6, ม.3/7

ส 2.1 ม.3/1,3/2,ม.3/3,ม.3/4,3/5

ส 2.2 ม.3/1,3/2,ม.3/3,ม.3/4

รายวิชา ส 23103 สังคมศึกษา 6

ศึกษาการใช้เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ในการรวบรวมวิเคราะห์ปัจจัยทางกายภาพและปัจจัยทางสังคมที่ ส่งผลต่อทำเลที่ตั้งของกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมในทวีปอเมริกาเหนือ และทวีปอเมริกาใต้นำเสนอข้อมูล เกี่ยวกับลักษณะทางกายภาพ สังคมและความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางกายภาพ สังคมของทวีปอเมริกาเหนือ ทวีปอเทวีปมริกาใต้ที่ก่อเกิดสิ่งแวดล้อมใหม่ทางสังคมอันเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติ ทางสังคมของทวีปอเมริกาเหนือและทวีปอเมริกาใต้ระบุแนวทางการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมในทวีป อเมริกาเหนือและทวีปอเมริกาใต้ สำรวจ อภิปราย ประเด็นปัญหาจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมทาง กายภาพกับมนุษย์ที่เกิดขึ้นในทวีปอเมริกาเหนือและทวีปอเมริกาใต้ตลอดจนวิเคราะห์สาเหตุการเกิดภัยพิบัติ และผลกระทบในทวีปอเมริกาเหนือ และทวีปอเมริกาใต้ มีความรู้เกี่ยวกับลักษณะทางกายภาพ ภัยพิบัติ ลักษณะกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคม ความร่วมมือด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ เพื่อเตรียม รับมือภัยพิบัติและการจัดการทรัพยากร และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

โดยใช้กระบวนการทางภูมิศาสตร์ การตั้งคำถามเชิงภูมิศาสตร์ การให้เหตุผลทางภูมิศาสตร์การสังเกต การแปลความข้อมูลทางภูมิศาสตร์การใช้เทคนิคและเครื่องมือทางภูมิศาสตร์กระบวนการกลุ่ม กระบวนการคิด วิเคราะห์ กระบวนการคิดเชิงระบบ การคิดเชิงพื้นที่การคิดแบบองค์รวม การใช้เทคโนโลยี

อธิบายกลไกในระบบเศรษฐกิจ มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาท้องถิ่นตามปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงกับระบบสหกรณ์ บทบาทหน้าที่ของ รัฐบาล นโยบายและกิจกรรมทางเศรษฐกิจของรัฐบาลที่มีผลต่อบุคคล กลุ่มคน ประเทศชาติและผลกระทบที่เกิด จากภาวะเงินเฟ้อเงินฝืด การว่างงาน แนวทางแก้ปัญหา การกีดกันทางการค้าในการค้าระหว่างประเทศ

โดยใช้กระบวนการคิดวิเคราะห์ กระบวนการแสวงหาความรู้ กระบวนการสืบค้นข้อมูล กระบวนการกลุ่ม กระบวนการอภิปราย กระบวนการเผชิญสถานการณ์และแก้ปัญหา กระบวนการปฏิบัติ เพื่อให้เข้าใจและสามารถ บริหารจัดการทรัพยากรในการผลิตและการบริโภค รวมทั้งเข้าใจหลักการของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อการ ดำรงชีวิตอย่างมีดุลยภาพ

ตัวชี้วัด ส 5.1 ม.3/1, ม.3/2

ส 5.2 ม.3/1, ม.3/2, ม.3/3, ม.3/4

ส 3.1 ม.3/1, ม.3/2, ม.3/3

ส 3.2 ม.3/1, ม.3/2, ม.3/3, ม.3/4,ม.3/5, ม.3/6